วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

บูลด็อก


ประวัติความเป็นมามีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ จัดอยู่ในกลุ่มมาสติฟ (Mastiff) โดยเชื่อกันว่าบูลด็อกเป็นสุนัขกลายพันธุ์มาจากสุนัขพันธุ์ Tibetan Mastiff ที่ดูโครงสร้างภายนอกไม่สมประกอบ มีตำราบางเล่มระบุว่าบูลด็อก สุนัขที่เกิดจากการถูกผู้เลี้ยงดูอย่างทรมาน เพื่อให้ได้มาซึ่งสุนัขที่มีรูปร่างหน้าตาไม่สมประกอบ เช่น การนำวัสดุแข็งๆ มาทำเป็นหน้ากากคลุมหัวบูลด็อกไว้ เพื่อให้มีใบหน้าสั้นผิดปรกติไปจากสุนัขตัวอื่นๆ หรือการยับยั้งการเจริญเติบโตของสุนัขด้วยการขังไว้ในที่แคบๆ จนแทบไม่สามารถกระดิกตัวได้ เพื่อให้สุนัขมีรูปร่างแคระแกร็นคำว่า บูล (Bull) ซึ่งหมายถึงบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีรูปร่างคล้ายวัวขนาดเล็ก ชื่อนี้ได้มาจากการที่ชาวอังกฤษในสมัยยุคก่อนๆ ได้ฝึกสุนัขพันธุ์นี้ไว้เพื่อต่อสู้กับวัว เป็นการยากที่จะหาหลักฐานมาอ้างอิงว่าบูลด็อกกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีข้ออ้างอิงที่เป็นไปได้คือ ในสมัยปี ค.ศ. 1209 ซึ่งตรงกับยุคสมัยของกษัตริย์จอห์น โดยท่านลอร์ดวิลเลี่ยม เอริล์วอร์เรนได้มองเห็นวัว 2 ตัว กำลังต่อสู้กันในสนามหญ้าหน้าวังของท่าน เพื่อแย่งชิงวัวตัวเมียอีกตังหนึ่ง จนกระทั่งฝูงสุนัขเลี้ยงวัวของคนเลี้ยงวัวได้ออกมาขับไล่วัวคู่นั้นออกไปจากบริเวณสนาม ท่านลอร์ดมีความยินดีมากและเกิดความคิดที่ว่าจะให้มีเกมกีฬาชนิดใหม่ขึ้นมา คือกีฬาสุนัขต่อสู้กับวัว ซึ่งต่อมาก็เป็นกีฬาที่นิยมกันมากในประเทศอังกฤษบูลด็อกโดยมากจะได้รับการฝึกให้มีนิสัยก้าวร้าวดุร้าย โดยเจ้าของสุนัขจะลงโทษด้วยวิธีการที่เจ็บปวด จึงทำให้บูลด็อกในอดีตมีนิสัยที่ดุร้าย ในการต่อสู้ในเกมกีฬาที่แสนหฤโหดและนองเลือด บูลด็อกจะถูกปล่อยลงสนามให้ต่อสู้กับวัวที่กำลังบ้าคลั่ง โดยมันจะบุกโจมตีบริเวณใบหูของวัว และกัดอยู่นานจนกว่าจะล้มวัวตัวนั้นได้ ต่อมาก็ได้มีการผสมพันธุ์เจ้าหน้าแก่นี้เสียใหม่ให้มีตัวเล็กลง เพื่อความว่องไวและปราดเปรียว ขณะเดียวกันจมูกที่เคยโด่งออกก็ถูกผสมให้แนบแบนติดกับใบหน้าเสีย เพราะจะทำให้มันโจมตีคู่ต่อสู้ได้นานกว่าเดิมยุคแรกๆ ของบูลด็อกมีขายาวกว่าพันธุ์ที่เห็นในปัจจุบัน แต่กระดูกเบากว่า ปากใหญ่และกะโหลกศีรษะเล็กกว่าทุกวันนี้ หูก็มีลักษณะตูบเล็กเพื่อความทนทานในการเสียดสีเมื่อต่อสู้ อีกประการหนึ่งก็คือหางยาวและม้วนพอง มีไว้ให้เจ้าของดึงออกจากคู่ต่อสู้ขณะต่อสู้อยู่ แต่แล้วยุคเสื่อมของบูลด็อกก็มาถึง เมื่อกีฬาต่อสู้กับวัวเสื่อมความนิยมลง โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1835 กีฬาการต่อสู้สุนัขถูกบัญญัติให้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย บูลด็อกจึงค่อยๆ หมดความหมายและพลอยถูกลืมเลือนไปด้วย ช่วงเวลาของความรุ่งโรจน์แห่งเผ่าพันธุ์ก็เริ่มหมดลง จำนวนของบูลด็อกก็ได้ลดลงไปมาก แต่โชคดีที่มีคนรักสุนัขและเสียดายในสายพันธุ์ได้ยื่นมือเข้ามาอนุรักษ์สายเลือดนี้ไว้ แม้ว่าความดุร้ายจะเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่คงลักษณะที่ดีๆ อย่างอื่นเอาไว้ จากหลักการนี้บูลด็อกจึงได้รับการคัดเลือกพันธุ์ตามวิธีการที่ถูกต้อง ภายในเวลาเพียงไม่กี่รุ่นก็ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งมีการประกวดบูลด็อกขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1859 และในปี ค.ศ. 1864 ก็ได้ตั้งสมาคมอนุรักษ์สุนัขพันธุ์บูลด็อกขึ้น บูลด็อกยังคงลักษณะที่ดีเด่นเอาไว้ครบถ้วน แต่ความโหดร้ายดุดันดั้งเดิมได้ถูกตัดออกไป จนถึงบัดนี้บูลด็อกได้รับการยกย่องเป็นสุนัขประจำชาติอังกฤษ เนื่องจากความอดทนกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวของมัน วิญญาณของความเป็นนักสู้ในอดีตยังคงปรากฏให้เห็น แม้ว่าวันเวลาที่ผ่านไปจะทำให้มันเกิดเชื่องช้าลงบ้างก็ตาม มาตราฐานสายพันธุ์ ลักษณะทั่วไป : บูลด็อกที่สมบูรณ์แบบต้องมีขนาดปานกลาง รูปรางบึกบึนและหนา กระดูกและกะโหลกศีรษะมีขนาดใหญ่มาก หน้าสั้น ใหญ่ กว้าง บริเวณหน้าผากมีรอยย่นลึก ตาอยู่ในตำแหน่งห่างจากใบหู กล้ามเนื้อหนังตาบนจะย่นเหมือขมวดคิ้วอยู่ตลอดเวลา ริมฝีปากหนาและกว้าง มีกล้ามเนื้อหนาแน่น แขน ขาล่ำสัน แข็งแรง แผ่นหลังโค้งเล็กน้อย และจะยกสูงบริเวณสะโพก ลำตัวส่วนท้องจะคอด กระดูกซี่โครงมีลักษณะห่อกลมคล้ายมะขามป้อม ตะโพกค่อนข้างเล็ก หางสั้นและขดแน่นกับส่วนหลัง ด้านอุปนิสัยมีความทรหดอดทน อารมณ์คงที่มั่นคงอย่าเสมอต้นเสมอปลาย มีความตั้งใจแน่วแน่ กล้าหาญ พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นไปอย่างสงบและสง่า ท่าทางการเดินมีลักษณะแปลกเฉพาะตัว คล้ายข้อต่อกระดูกไม่แข็งแรง เหมือนการลากไป มีลักษณะการเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างคล้ายการกลิ้งไป แต่อย่างไรก็ตามการเคลื่อนที่ต้องไม่เกร็ง เป็นอิสระและเข้มแข็ง ศีรษะ : ควรมีขนาดใหญ่ เมื่อวัดรอบศีรษะ โดยวัดจากด้านบนลงล่างผ่านใบหูควรจะมีความยาวมากกว่าความสูงของตัว เมื่อมองจากด้านหน้าศีรษะควรสูงมาก เมื่อมองจากมุมของขากรรไกรล่างไปถึงจุดสูงสุดของกะโหลกกว้างมากเป็นสี่เหลี่ยม เมื่อมองจากด้านข้างศีรษะอยู่สูงมาก และจากจมูกถึงท้ายทอยสั้นมาก หน้าผากควรมีรอยย่นลึกเป็นแนว และมีเส้นผ่าลึกลงมาจากส่วนบนมายังจมูกและปาก จมูก : จมูกควรใหญ่ แลดูกว้างแต่สั้น ปลายจมูกควรจะมีรอยย่นลึก จมูกมีเส้นแบ่งเขตแนวชัดเจน รูจมูกใหญ่และเชิด จมูกควรจะมีสีเข้ม หากเป็นสีดำสนิทได้ยิ่งดี จมูกสีอื่นที่ไม่ใช่สีดำไม่เป็นที่นิยม จมูกแดงเป็นสีเดียวกับสีผิวถือว่าผิดลักษณะ และถ้าจมูกเป็นสีชมพูถือว่าเป็นจุดด้อยอย่างมาก นอกจากนี้จมูกต้องไม่แห้งหรือเปียกชุ่มเกินไป ปาก : ริมฝีปากบนควรหนา กว้างและลึกมากห้อยลงมาปิดกรามล่างได้มิดชิด หากมองจากด้านข้างจะปิดริมฝีปากล่างและฟันมิดชิด แผ่นหลังที่หุ้มปากทั้งสองด้านควรมีขนาดใหญ่และยาวเท่าๆ กัน ขากรรไกรล่างใหญ่กว้าง เป็นสี่เหลี่ยมยื่นเลยขากรรไกรบนและงอนขึ้น ฟัน : ฟันควรอยู่ครบ 42 ซี่ ฟันล่างจะเกยอยู่ด้านนอก ฟันที่ดีต้องซี่ใหญ่แข็งแรงมั่นคง ฟันที่ยื่นออกมาต้องไม่มีลักษณะโค้งงอ ฟันเขี้ยวอยู่ห่างจากกัน ฟันตัด 6 ซี่ที่อยู่ด้านหน้าระหว่างฟันเขี้ยวอยู่ในแนวระดับเดียวกัน เวลาอ้าปากจะเห็นฟันซี่เล็กๆ 6 ซี่ทางด้านหน้า เวลาหุบปากไม่ควรจะให้เห็นฟันจึงจะดี และฟันควรขาวสะอาด ตา : ดวงตาควรมีลักษณะกลม ขนาดปานกลาง ไม่จมลึกหรือยื่นออกมามากเกินไป เมื่อมองจากด้านหน้าจะฝังอยู่ในกะโหลกศีรษะ อยู่ห่างจากหูมาก และตาทั้ง 2 ข้างไม่ควรอยู่ห่างกันมากนัก สีลูกตาควรเป็นสีเข้ม หนังตาปิดตาขาว หู : ฐานหูทั้ง 2 ข้างควรจะยกสูงและควรจะอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลกัน ใบหูควรเล็กและบาง ปลายหูควรพับลงมาแนบกับศีรษะ ควรอยู่ห่างจากตาพอเหมาะ ลักษณะใบหูที่ดีควรมีลักษณะโคนตั้งปลายตกหรือกับกลีบดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นที่นิยมสูงสุด หูไม่ควรตั้งตรงและไม่ควรตกลงมาทั้งหมด คอ : เนื่องจากบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีส่วนหัวใหญ่ ลำคอจึงควรใหญ่หนา สั้นและแข็งแรง และเป็นส่วนโค้งทอดไปยังส่วนหลัง หนังใต้ลำคอจะหย่อนลงมาเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ควรปล่อยให้ยาน เพราะถ้ายานและมีหนังหย่อนมามากแสดงว่ากำลังอ้วนเป็นพะโล้ แก้ไขโดยการออกกำลังกายบ่อยๆ ไหล่ : หัวไหล่ควรมีขนาดใหญ่ กว้างและมีมัดกล้ามเนื้อหนา ก่อให้เกิดความสมดุลและพละกำลังมาก อก : กว้างมาก ลึกและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เห็นกล้ามเนื้อที่อกได้ชัดเจน ซี่โครงโค้งกลมจากหัวไหล่จนไปถึงจุดต่ำสุดของหน้าอก ทำให้สุนัขมองดูมีลักษณะกว้าง เตี้ยและขากว้าง ลำตัว : แข็งแรงกำยำ เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ไม่ควรผอมจนเห็นซี่โครงและไม่ควรอ้วนจนมองไม่เห็นกล้ามเนื้อบริเวณท้องน้อยควรจะขอดเล็กน้อย แนวสันหลังควรสั้นและแข็งแรง บริเวณที่ไหล่กว้างมากและค่อนข้างแคบ บริเวณบั้นท้ายซึ่งเป็นจุดที่ควรสูงกว่าความสูงที่ไหล่และมีความโค้งลาดต่ำอีกครั้งลงไปที่หาง ซึ่งเป็นลักษณะที่เด่นชัดมากสำหรับสุนัขพันธุ์นี้ จึงเรียกว่าหลังแมลงสาบหรือหลังวงล้อ สะโพก : ควรจะโค้งมนได้รูป ส่วนก้นกลมและไม่มีกระดูกโปนออก ขาหน้า : ควรสั้น สุนัขพันธุ์นี้มีขาหน้าที่สั้นกว่าขาหลัง ดังนั้นเมื่อสุนัขยืนจะทำให้ช่วงหน้าของลำตัวต่ำกว่าบั้นท้าย ขาที่ดีต้องแข็งแรง กระดูกขาใหญ่ ต้นขาเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ขาหน้าเวลายืนควรอยู่ห่างกัน ช่วงบนของขาหน้าแลดูเป็นวงโค้ง ข้อศอกควรอยู่ห่างจากลำตัว เท้าและนิ้วเท้าใหญ่พอประมาณแลดูกระทัดรัด เล็บที่ขาควรมีสีเข้มและควรเป็นสีเดียวกันกับขนบนลำตัว ขาหลัง : แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อและยาวกว่าขาหน้า เวลายืนตะโพกจะเชิดสูงทำให้ดูหลังแอ่น ส่วนขาควรสั้นและแข็งแรง ลักษณะของเท้าที่ดี ข้อเท้าที่ขาหลังควรจะหันออกจากลำตัวเล็กน้อย ขาหลังควรบิดออกเล็กน้อย เท้า : ควรมีขนาดปานกลาง กระทัดรัดและแข็งแรง ปลายเท้าหน้าอาจตรงหรือเปิดออกเล็กน้อย แต่ขาหลังควรยื่นออกด้านนอก หาง : อาจตรงหรือเป็นเกลียว แต่ไม่โค้งหรือม้วน หางต้องสั้น ห้อยต่ำ โคนหางใหญ่ ปลายเล็ก ถ้าหางเป็นเกลียว การม้วนหรือขมวดของหางจะมีลักษณะเป็นเกลียวคล้ายก้นหอยแต่ต้องไม่หงิกงอ ปลายหางไม่ควรม้วนลงไปถึงโคนหาง ขน : ขนควรสั้นและเหยียดตรงแบนราบกับลำตัว สีของขนควรสม่ำเสมอ สะอาดสดใสและดูเป็นมันเงา ขนต้องไม่ยาวหรือขึ้นเป็นลอน ผิวหนัง : อ่อนนุ่มและไม่ตึง โดยเฉพาะที่หัว คอและหัวไหล่ รอยย่นและเหนียงตรงคอ ศีรษะและหน้าควรปกคลุมด้วยรอยย่นขนาดใหญ่ และที่คอจากขากรรไกรจนถึงหน้าอกควรจะมีรอยย่นที่ห้อยออกมาเป็น 2 แนว สี : สีขนของบูลด็อกมีหลายสี สำหรับสีขนที่ถือเป็น 2 สีในตัวเดียวกัน ในสุนัขที่มี 2 สี แต่ละสีควรเป็นสีเดียวที่บริสุทธิ์ไม่มีสีอื่นเจือปนให้เป็นสีผสม และควรมีการกระจายสีในลักษณะที่สมดุล บูลด็อกที่มีสีดำทั้งตัวไม่เป็นที่นิยม แต่ก็ไม่ถึงกับไม่เป็นที่ยอมรับ สำหรับบูลด็อกที่มีสีนอกเหนือจากที่กล่าวมาในข้างต้นถือว่าใช้ไม่ได้ การเดินการวิ่ง : ถึงแม้จะดูอืดอาดเชื่องช้าเวลาเดินต้องส่ายสะโพกไปมา ลักษณะการก้าวย่างควรดูอิสระ คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ไม่อืดอาดเวลาเดิน ลำตัวต้องไม่แกว่งมาก จนดูเหมือนไม่มีกระดูก น้ำหนักและส่วนสูง: เพศผู้ควรมีน้ำหนักอยู่ในช่วงระหว่าง 24-25 กิโลกรัม เพศเมียอยู่ในช่วง 22-23 กิโลกรัม ส่วนความสูงเพศผู้ควรอยู่ระหว่าง 16-18 นิ้ว และเพศเมียควรสูง 12-15 นิ้ว ข้อบกพร่อง : จมูกมีสีเนื้อหรือจมูกเผือก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น